เสาเข็มเจาะระบบแห้ง และ การทรุดตัวของอาคาร
“ต่อเติมอย่างไรให้ทรุด” เป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่คงจะสงสัยว่าทำไมแทนที่การต่อเติมอาคารทั่วไปจะต้อง พยายามทำให้อาคารไม่ทรุดไม่ใช่หรือ จริงๆ แล้ว ความเข้าใจของคนทั่วไปรวมถึงช่าง ผู้รับเหมา สถาปนิกหรือวิศวกรบางรายที่ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องการต่อเติมดีพอ คือ “ทำอย่างไรก็ได้ให้การต่อเติมอาคารนั้นไม่ทรุด” ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นความเข้าใจที่ผิด
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจถึงเรื่องการก่อสร้างอาคารก่อน การก่อสร้างอาคารใหม่หลายๆ หลังนั้นจะเริ่มต้นจากการตอกเสาเข็ม ทำฐานราก ก่อนจะทำโครงสร้างทั้งเสาและคาน จากนั้นจึงขึ้นเป็นอาคาร เหตุใดถึงต้องลงเข็มล่ะ ก็เนื่องจากว่าสภาพพื้นที่ที่จะก่อสร้างอาคารนั้นๆ มีการทรุดตัวตลอดเวลาซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีการทรุดตัวของพื้นดินที่แตกต่าง กันไปตามสภาพดินของพื้นที่นั้นๆ การลงเข็มจึงเป็นการทำให้อาคารนั้นๆ มีการทรุดตัวที่ช้ากว่าสภาพพื้นที่บริเวณนั้นและทำให้การทรุดตัวของอาคาร เป็นไปโดยพร้อมๆ กันทั้งอาคาร ไม่ทรุดตัวเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้น การลงเข็มไม่ใช่การทำให้อาคารไม่ทรุดตัว แต่ ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่จะคิดเพียงว่าถ้าลงเข็มมากๆ อาคารที่ก่อสร้างนั้นจะไม่ทรุด ขอย้ำว่า อาคารที่ก่อสร้างทุกหลังนั้นมีการทรุดตัวเพียงแต่การทรุดตัวในแต่ละปีนั้น เป็นเพียงไม่กี่มิลลิเมตรจึงทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าอาคารนั้นไม่ทรุดตัว การต่อเติมอาคารแต่ละหลังนั้น เกิดจากความต้องการของเจ้าของอาคารที่จะขยายพื้นที่ใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ หรืออาคารพาณิชย์ต่างๆ แสดงว่าอาคารส่วนที่จะต่อเติมนั้นต้องเกิดขึ้นหลังจากอาคารที่อยู่อาศัยนั้น สร้างแล้วเสร็จเป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งการต่อเติมอาคารแต่ละหลังนั้นต้องคำนึง ถึงโครงสร้างของอาคารเดิมว่ามีลักษณะอย่างไร สามารถต่อเติมตามความต้องการได้หรือไม่ ดังนั้นหากเป็นไปได้ ก่อนที่จะต่อเติม อาคารควรจะตรวจสอบหรือหาแบบโครงสร้างของอาคารเดิมมาเพื่อ พิจารณาในการออกแบบโครงสร้างส่วนต่อเติมให้สัมพันธ์กับโครงสร้างอาคารเดิม และไม่เป็นการทำการโครงสร้างของกันและกันด้วยเมื่อเราได้แบบโครงสร้างอาคาร เดิมมาแล้ว ในหลายๆ ครั้งที่ช่าง ผู้รับเหมา สถาปนิกหรือวิศวกรบางรายมีความเข้าใจเรื่องการต่อเติมไม่ดีพอ พยายามที่จะออกแบบโครงสร้าง ฐานราก เสาเข็มให้เหมือนกับโครงสร้างอาคารเดิมโดยเข้าใจว่าเมื่อออกแบบโครงสร้าง ฐานราก เสาเข็ม เหมือนกับอาคารเดิมจะทำให้การทรุดตัวของส่วนต่อเติมเท่ากับอาคารเดิมแล้วการ ทรุดตัวของอาคารทั้ง 2 ส่วนจะเป็นไปพร้อมๆ กัน ไม่เกิดปัญหาการแตกร้าวของอาคาร หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินว่า ถ้ากลัวอาคารทรุดตัวแตกร้าว ก็ลงเข็มเยอะๆ สิ หรือ ลงเข็มให้เท่ากับอาคารเก่าจะทำให้อาคารส่วนต่อเติมไม่ทรุดตัว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์ เพราะหลังจากก่อสร้างไปไม่กี่ปี (บางหลังต่อเติมไปไม่ถึงปี) ก็เกิดการทรุดตัวแตกร้าวระหว่างโครงสร้างทั้ง 2 ส่วน บางหลังก็เกิดอย่างรุนแรง ซึ่งหลังจากนี้การซ่อมแซมแก้ไขทำได้ยากและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จบสิ้นกลาย เป็นปัญหาเรื้อรัง ค่าใช้จ่ายบานปลายจนสุดท้ายก็ต้องทนอยู่กับโครงสร้างที่มีปัญหาอย่างไม่มี ทางเลือก ทีนี้ มาดูกันว่า “การต่อเติมอย่างไรให้ทรุดนั้น” หมายความว่าอย่างไร
การต่อเติมนั้น ยิ่งทรุดตัวมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะเมื่ออาคารทรุดตัวมากๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งการทรุดตัวจะลดน้อยลง เมื่อคิดเช่นนั้นการต่อเติมของเราก็จะตั้งอยู่บนพื้นฐาน “ยิ่งทรุดตัวมากยิ่งดี” ทำให้เราต้องออกแบบโครงสร้างอาคารส่วนต่อเติมให้แยกขาดจากอาคารเดิมเพื่อไม่ ให้เกิดผลกระทบกับโครงสร้างของอาคารเดิมและอาคารส่วนต่อเติม ให้อาคารทั้ง 2 ส่วนมีการทรุดตัวที่อิสระจากกัน หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า ถ้างั้นในส่วนของรอยต่อระหว่างโครงสร้างอาคารเดิมและอาคารส่วนต่อเติมเราจะ ทำอย่างไรตรงนั้นเมื่อเราแยกโครงสร้างของทั้ง 2 ส่วนจากกัน บริเวณรอยต่อก็จะเป็นร่องบ้าง เป็นรอยแยกบ้าง เมื่อรู้เช่นนั้น เราก็ทำการแก้ปัญหาบริเวณรอยต่อนั้นเสียด้วยการออกแบบซึ่งทำได้หลายๆ วิธี เช่น บริเวณรอยต่อพื้นก็ทำเป็นเหมือนร่องน้ำสามารถโรยกรวดหรือหินสีสวยๆ เพื่อตกแต่ง หรือออกแบบทำเป็นขึ้นบันไดเล็กน่ารักๆน็้ ก็ได้ บริเวณผนังที่เป็นรอยต่อก็สามารถออกแบบเป็นผนังตกแต่ง เช่นให้ไม้ฝาต่างๆ มากตี หรือตีกรอบวงกบหรือตู้สวยๆ ก็ได้ ด้านบนหรือเพดานก็ออกแบบฝ้าเพดานให้มีระดับหลดหลั่น ดร็อปฝ้า และยังมีวิธีการออกแบบอีกหลายๆ อย่างให้ดูดีดูเก๋ แล้วแต่ว่าต้องการจะให้ห้องนั้นเป็นลักษณะไหน ส่วนปัญหาเรื่องการรั่วซึมต่างๆ ก็สามารถใช้ผลิต ภัณฑ์กันรั่วซึมที่มีอยู่ตามท้องตลาด เช่น พวกอะคลีริค ยาแนวก่อนที่จะปิดผิวรอยต่อตามที่เราได้ออกแบบไว้แต่บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องทำให้มันยุ่งยากขนาดนั้นด้วย ดีไม่ดียังสิ้นเปลืองงบประมาณไปกับการตกแต่งพวกนี้อีกแถมเมื่ออาคารเกิดการ ทรุดตัว การตกแต่งพวกนี้ก็เสียหายต้องซ่อมแซมอยู่ดี ลองคิดดูง่ายๆ นะครับ ความเสียหายกับงานตกแต่งพวกนี้ เวลาซ่อมแซม เราจะเสียค่าซ่อมแซมเฉพาะบริเวณที่ตกแต่งซึ่งค่าใช้จ่ายไม่เท่าไหร่ หรือบางทีหากออกแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เราก็สามารถที่จะซ่อมแซมเองได้ไม่ยากและไม่ต้องเรียกช่างมาให้เสียเวลาและ ค่าใช้จ่าย แต่หากเราต่อเติมโดยโครงสร้างอาคารเดิมและอาคารส่วนต่อเติมติดกันเมื่อเกิด การทรุดตัว ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถควบคุมได้ว่าจะเสียหายแค่บริเวณรอยต่อ บางแห่งลามไปถึงโครงสร้างของอาคารเดิม เมื่อจะทำการซ่อมแซมก็ทำได้ยาก มีค่าใช้จ่ายที่สูง บางทีต้องทุบผนังแล้วก่อใหม่ หากเกิดรุนแรงมากอาจถึงขั้นต้องทุบโครงสร้างส่วนต่อเติมทิ้ง บางทีอาจมีผลต่อโครงสร้างของอาคารเดิมได้ ซึ่งหากต้องทำการซ่อมแซมก็ไม่สามารถประเมินได้เลยว่าความใช้จ่ายจะเป็น เท่าไร และปัญหาจะหยุดแค่นี้หรือไม่ ทำให้เราอยู่โดยไม่สบายใจ เกิดความกังวลว่าโครงสร้างอาคารจะมีปัญหาหรือไม่
จำไว้นะครับว่า การก่อสร้างบางอย่างเราเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็จริงแต่มันทำให้ปัญหาลดน้อยลง แต่หากเรามัวแต่คิดเพียงว่าไม่จำเป็น สิ้นเปลือง ก็จะเข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” ซึ่งคงจะไม่คุ้มกันหรอกกับอาคารหรือบ้านที่เราต้องอยู่อาศัยไปทั้งชีวิต
อ.โกศล วิจิตรทฤษฏี และ อ.สำเริง ฤิทธพริ้ง