เสาเข็มเจาะแบบแห้ง แบบเปียก

เสาเข็มเจาะ แบบแห้ง แบบเปียก ต่างกันอย่างไร

เสาเข็มเจาะชนิดแห้ง (Dry-process bored pile)

ใช้การหล่อคอนกรีต โดยไม่ใช้สารของเหลวใด ๆ เป็นตัวกลางระหว่างการเจาะ สำหรับเสาเข็มเจาะแบบแห้ง ส่วนใหญ่จะเป็นเสาเข็มขนาดเล็ก ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะนิยมลึกไม่เกิน 25 เมตร และในพื้นที่ต่างจังหวัดจะนิยมลึกไม่เกิน 20 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อดินบริเวณนั้น ๆ จะเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 เมตร ต่อกันด้วยระบบเกลียว แบบเปียกนั้น จะติดตั้งหัวเจาะ สว่าน (Auger) ใช้เจาะดินเหนียวและทำการ เปลี่ยนหัวเจาะเป็นแบบกระเช้าเหล็ก (Bucket) เจาะดินทราย เมื่อทำการเจาะดินจนถึงชั้นทราย จะมีน้ำใต้ดินไหลเข้ามาในหลุมเจาะจึงต้องเติม สารละลายเบนโทไนต์ลงไปในหลุมเจาะ เพื่อรักษาเสถียรภาพของหลุมเจาะไม่ให้หลุมเจาะพังลงมาและป้องกันไม่ให้น้ำเข้ามารบกวนคอนกรีต เมื่อทำการเจาะดินจนได้ระดับที่ต้องการแล้ว จะทำการใส่เหล็กเสริมลงไปในหลุม เจาะและทำการยึดรั้งไม่ให้ตำแหน่งเหล็กคลาด เคลื่อนขณะเทคอนกรีต จากนั้นจะทำการหย่อนท่อส่งคอนกรีต (ท่อTiemie) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว ยาวเท่ากับความลึกเกือบถึงก้นของหลุม เจาะ ซึ่งต่อกันด้วยระบบเกลียว สามารถตัดต่อ ได้เมื่อระดับคอนกรีตที่เทสูงขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นจึง ทำการเทคอนกรีต ในขณะที่เทคอนกรีตนั้นจะมีสารละลาย เบนโทไนท์ในหลุมเจาะ เมื่อคอนกรีตเข้าไป แทนที่สารละลายเบนโทไนท์แล้ว สารละลาย เบนโทไนท์ก็จะเอ่อล้นหลุมเจาะขึ้นมา ซึ่งก็จะมี การติดตั้งปั๊มดูดสารละลายนี้กลับไปพักไว้ในถัง พักสารละลายเบนโทไนท์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อเทคอนกรีตแล้วเสร็จแล้วก็จะทำการดึงเหล็กปลอกขึ้นมา เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการเจาะเสาเข็ม

เสาเข็มเจาะชนิดเปียก (Wet – process bored pile)

สำหรับข้อแตกต่างระหว่างแบบแห้งและแบบเปียก ก็คือ แบบเปียกจะใช้การหล่อคอนกรีต โดยเติมสารละลายของเหลวอย่างเบนโทไนท์เข้าไปในขั้นตอนการเจาะเสาเข็ม ส่งผลให้คอนกรีตอัดตัวได้แน่นขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความละเอียดเป็นอย่างมาก แบบเปียกคือเป็นเสาขนาดใหญ่ที่มีขนาดตั้งแต่ 50 เซนติเมตร ขึ้นไป มักใช้ในงานอาคารขนาดใหญ่ เนื่องจาก รับน้ำหนักต่อต้นได้มาก (50-1,000 ตันต่อต้น) ขนาด 50 และ 60 เซนติเมตร สามารถใช้เครื่องมือสามขาทำงานได้ ส่วนขนาด 80 เซนติเมตรขึ้นไปจะใช้เป็นระบบรถสว่านเจาะ

ที่เรียก ว่าเสาเข็มเจาะแบบเปียกเพราะ
มีการเติมสารละลาย เบนโทไนท์ (Bentonite) ระหว่างกระบวนการ เจาะเสาเข็ม เนื่องจากขนาดหลุมเจาะมีขนาด ใหญ่และลึกมาก 25 ม. ขึ้นไป จึงต้องการให้ มีสารละลายเลี้ยงหลุมเจาะเพื่อไม่ให้ดินพังทลาย ลงมา ในหลุมเจาะ กระบวนการเจาะแบบเปียก ค่อนข้างจะมีรายละเอียดขั้นตอนที่ต้องการ และการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ทำงาน เพราะหลุมเจาะที่ใหญ่ และลึกมากนั่นเอง วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้จึงมี ขนาดใหญ่กว่าระบบแห้งค่อนข้างมาก แต่กระบวนการหลักๆ ในการทำงานนั้นก็ คล้ายกับแบบแห้ง ตั้งแต่การปักท่อ ปลอกเหล็ก (Casing) เพื่อป้องกันปากหลุมเจาะ แต่ท่อที่ใช้ในงานแบบเปียกจะมีความยาวประมาณ 10-12 เมตร เป็นท่อนเดียว